วัดมหาธาตุราชวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรีนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า
แรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี
จึงได้มีการก่อสร้างและดัดแปลงศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีขึ้นเป็นพระปรางค์และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลของเขมร
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้งซ้อนทับและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก 3 องค์บนฐานเดียวกัน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก
ประชาชนก็ย้ายตามความเจริญไปด้วย วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2338
พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนช่วยกันปัดกวาดซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ
ในที่สุดวัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาเช่นเดิม และยังคงเป็นมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญในวัด ได้แก่
พระปรางค์ประธาน ,พระวิหารหลวง ,กำแพงแก้ว ,ราวบันไดรูปครุฑยุคนาค ,พระอุโบสถ ,พระมณฑป ,พระเจดีย์
วัดมหาธาตุได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจาเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้รับการระวางแนวเขตโบราณในราชการกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 88 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526