Category Archives: ท่องเที่ยว

อุทยาน ร.2

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( อุทยาน ร.2 )
เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้เป็นมรดกแก่ชาติ
บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย
มีทั้งหมด 11 ไร่ ซึ่งที่บริเวณนี้มีความสำคัญเพราะเป็นที่พระราชสมภพของรัชกาล

เปิดให้เข้าชมทุกวัน
ในวันจันทร์-ศุกร์ เปิดเวลา 08.30-17.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เปิดเวลา 08.30-17.00 น.

« of 2 »

ตลาดน้ำอัมพวา

เป็นตลาดน้ำยามเย็น ตลาดจะมีทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
ในช่วงเวลาตั้งแต่ 12.00-20.30 น. อยู่ติดกับอุทยาน ร.2
มีอาหารขายหลายชนิด เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย กุ้งเผา ขนมไทยโบราณ
กาแฟโบราณ และสินค้าที่ระลึก จากอัมพวา ช่วงหัวค่ำสามารถเช่าเรือเพื่อ
ชมหิ่งห้อย ค่าเรือชมหิ่งห้อยคนละ 60 บาท เหมาลำ 600 บาท

« of 2 »

วัดบางกุ้ง-วัดจุฬามณี

วัดบางกุ้ง

วัดบางกุ้งตั้งอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับค่ายบางกุ้ง
แต่อยู่คนละฝั่งกัน มีถนนตัดผ่านกลาง วัดบางกุ้งนี้มีความมหัศจรรย์อยู่ที่โบสถ์ของ
วัดจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ โดยภายในวัดมีโบสถ์เก่าประดิษฐาน
หลวงพ่อพุทธมณีนิลพระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นขนาดใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สมัยอยุธยา

วัดจุฬามณี

เป็นวัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวาต่อเนื่องกับคลองผีหลอก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า
ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินิกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น
บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1)
และคุณบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)

« of 2 »

วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี

วัดมหาธาตุราชวรวิหาร  ตำบลหน้าเมือง  อำเภอเมืองราชบุรี  ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรีนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า
แรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี  ราวพุทธศตวรรษที่  13  ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่  18  วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี
จึงได้มีการก่อสร้างและดัดแปลงศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีขึ้นเป็นพระปรางค์และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลของเขมร
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น  ราวพุทธศตวรรษที่   20-21  ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้งซ้อนทับและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก  3 องค์บนฐานเดียวกัน  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ  ให้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก
ประชาชนก็ย้ายตามความเจริญไปด้วย  วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา  ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ใน  พ.ศ.  2338
พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา  ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น  เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนช่วยกันปัดกวาดซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ
ในที่สุดวัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาเช่นเดิม  และยังคงเป็นมาจนถึงปัจจุบัน  สิ่งสำคัญในวัด  ได้แก่

พระปรางค์ประธาน  ,พระวิหารหลวง  ,กำแพงแก้ว  ,ราวบันไดรูปครุฑยุคนาค  ,พระอุโบสถ  ,พระมณฑป  ,พระเจดีย์

วัดมหาธาตุได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจาเบกษา  เล่ม  52  ตอนที่  75  เมื่อวันที่  8  มีนาคม  พ.ศ. 2478  และได้รับการระวางแนวเขตโบราณในราชการกิจจานุเบกษา  เล่ม  100  ตอนที่  88  เมื่อวันที่  31  พฤษภาคม  พ.ศ. 2526

« of 2 »

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตั้งขึ้นด้วยความริเริ่มขององค์กร อาทิ วัดโขลงสุวรรณคีรี มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดแคทราย ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี ชมรมชาวไท-ยวน ราชบุรี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี สมาคมต่างๆได้ร่วมกันก่อสร้าง ตัวอาคารแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2546 จากนั้นจึงมอบหมายให้ ดร.อุดม สมพร มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว เป็นประธานกรรมการจัดตกแต่งและจัดแสดงภายในรวมทั้งเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ด้วย ภายในอาคาจิปาถะภัณฑ์ แบ่งห้องแสดงไว้หลายห้อง เช่น ห้องแสดงศิลปวัตถุโบราณสมัยทวราวดี ห้องแสดงวิถีชีวิต ของชุมชนไท-ยวน เป็นต้น นอกจากนี้ภายนอกอาคารด้านขวามือยังเป็นอาคารเอนกประสงค์ที่ใช้เป็นที่รวมกลุ่มของชาวบ้านในพื้นที่ ใช้เป็นศูนย์ฝึกและศูนย์สาธิตการทอผ้าจก และทางด้านหน้าของอาคารมีเรือนไท-ยวนโบราณให้ศึกษาอีกด้วย

จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตั้งอยู่ 101 หมู่ 6 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000
สหกรณ์การเกษตรไท-ยวน จำกัด โทร. 0-3271-1765
Web Site : www.jipathaphan.com

เมืองโบราณคูบัว
เมืองโบราณคูบัว เป็นอาคารพุทธศาสนาเนื่องในลัทธิมหายานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง จากร่องรอยหลักฐานที่ปรากฎให้เห็น สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นฐานของวิหาร เนื่องจากมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณชั้นบนทางด้านทิศตะวันออก ฐานประดับด้วยซุ้ม และเสาอิงที่แต่เดิมเคยมีรูปพระโพธิสัตว์ทำด้วยปูนปั้นประดับตกแต่ง เพราะว่าปัจจุบันยังมีรูปพระโพธิสัตว์ทำด้วยปูนปั้นประดับตกแต่งที่มีลักษณะ และสัดส่วนที่เข้ากันได้กับซุ้ม และเสาอิงที่เก็บรักษาไว้ที่วัดโขลงสุวรรณคีรีบางส่วน

ลักษณะฐานเช่นนี้คล้ายคลึงกับฐานของโบราณสถานคลังใน กลางเมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ยังได้พบพระโพธิสัตว์สำริดขนาดเล็กที่มีลักษณะ และรูปแบบคล้ายคลึงกันกับประติมากรรมที่พบที่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศิลปะที่สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกายวัชรที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในอินเดีย และชวาภาคกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 15
เมืองโบราณคูบัว ปัจจุบันตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คูบัว เขต อ.เมืองราชบุรี โดยอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดราชบุรีไปทางด้านทิศใต้ ประมาณ 8 กม. มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ขนาดกว้างประมาณ 800 เมตร ยาว ประมาณ 2,000 เมตร .

วัสดุที่มีการนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารศาสนาสถานของเมืองโบราณคูบัวนั้น ส่วนใหญ่นิยมก่อด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ซึ่งทั่วไปมีขนาดโดยประมาณ กว้าง 17 ซม. ยาว 35 ซม. และหนา 10 ซม. เนื้ออิฐผสมด้วยแกลบข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ ใช้ดินเนียวเนื้อละเอียดผสมยางไม้หรือน้ำอ้อยเป็นดินสอ หรือตัวประสาน การเรียงอิฐใช้วิธีการเรียงตามแนวยาววางสลับกับแนวกว้างในชั้นเดียวกัน สำหรับส่วนฐานล่างสุดของอาคารศาสนสถานเท่าที่มีการพบ ส่วนใหญ่มักใช้อิฐก่อเช่นเดียวกันกับส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไป

วัดโขลงสุวรรณคีรี
วัดเก่าแก่ที่เป็นที่ค้นพบเมืองโบราณ ปัจจุบันยังได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของโบราณของตำบลด้วย หลวงพ่อสิทธิ วราทร เป็นเจ้าอาวาส

« of 3 »

อุทยานหินเขางู

อุทยานหินเขางู แต่เดิมประชาชนในชุมชนประกอบอาชีพทางพาณิชยกรรม คือ การขอสัมปทานระเบิดหินย่อยหิน จึงทำให้เทือกเขางูเสื่อมโทรมลง ต่อมาทางสำนักงานจังหวัดร่วมกับสำนักงานสุขาภิบาลเขางูในสมัยนั้น ได้เร็งเห็นความสำคัญทางธรณีวิทยาและทางธรรมชาติ จึงได้ประสานงานของความร่วมมือกับหน่วยราชการทุกฝ่ายเพื่อหามาตรการป้องกันไม่ให้เทือกเขางูถูกทำลายไปมากกว่านี้ และได้มีการสั่งให้สำนักงานเทศบาล ต.เขางูเป็นผู้ดูแลรักษา และพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเงินพัฒนาจากจังหวัด และทางสำนักงานจังหวัดได้ประกาศให้เขางูเป็นอุทยานหินเขางูในปัจจุบัน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ อาทิเช่น

ถ้ำฤาษีเขางู ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขา ในบริเวณสวนสาธารณะเขางู ตำบลเกาะพลับพลา ลักษณะเป็นถ้ำหรือศาสนสถาน ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา ภายในถ้ำพบพระพุทธรูปจำหลักติดผนังถ้ำ เป็นพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรมเทศนา ตามแบบพุทธศิลป์สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11–13) รู้จักกันทั่วไปว่า พระพุทธฉายถ้ำฤาษีเขางู ลักษณะพระพักตร์แบน พระขนงเป็นเส้นนูนโค้งต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนา ขมวดพระเกศาใหญ่ มีรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูม ระหว่างข้อพระบาทมีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อ่านว่า ปุญกรรมชระศรีสมาธิคุปตะ แปลว่า พระศรีสมาธิคุปตะเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยการทำบุญ นับเป็นร่องรอยศิลปะสมัยทวารวดี ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ภายในถ้ำยังมีพระพุทธรูปหินทราย ศิลปะสมัยอยุธยาอีกหลายองค์ บริเวณถ้ำฤาษีเขางู มีสถานที่หลายแห่งที่น่าสนใจแวะเข้าไปชม

อุทยานหินเขางู ตั้งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.ราชบุรี

No Images found.

วัดประดู่ ( Wat Pradoo )

วัดประดู่ ได้รับพระราชทานวิสุคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2508 เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2320 จากหลักฐานที่ปรากฎพบว่ามีแก่นไม้ประดู่ด้านหนึ่งเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมยาวขนาดเท่าใบลาน ใช้เป็นที่อัดใบลานได้นำไปไว้ที่ศาลเจ้าพ่อประดู่ อุโบสถหลังเก่าได้ถูกรื้อทิ้งและสร้างใหม่

เป็นวัดที่มีเรื่องเล่าและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจมากมาย ผู้เฒ่าผู้แก่บอกกันว่าเมื่อก่อนผีดุมากและมีขุมสมบัติมหาศาลและลายแทงสมบัติและมีรูอยู่เก้าแห่ง รูไหนแห้งและเปียกให้แทงรูนั้น มีบางคนเคยเห็นเป็ดเงินและเป็ดทองคำมักออกมาเดินเล่นน้ำฝนและหายลงไปในสระและมีพระพุทธรูปทองคำหน้าตักประมาณ สองศอก ดำหายลงไปและยังมีเรือชะล่าใหญ่จมลงไปในสระ มักมีนักแสวงโชคมาขุดหาสมบัติแต่สุดท้ายก็มักคว้าน้ำเหลว ซึ่งปัจจุบันได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ทับปิดสระน้ำนั้นไปแล้ว

ตามหลักฐานบันทึกที่ปรากฎอยู่ในจดมหายเหตุเสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่ 21 ก.ค. พ.ศ. 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้เสร็จประพาสต้นทางชลมารคมายังวัดประดู่ เสวยพระยาหารเช้าที่วัดประดู่ พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาต่อหลวงปู่แจ้ง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น หลวงปู่แจ้งเป็นพระที่มีวิชาอาคม ปลุกเสกน้ำมนต์รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และรักษาคุณไสย พระองค์ได้ทรงอาราธนาหลวงปู่แจ้งเข้าไปในพระราชวังและได้ถวายเครื่องราชศรัทธากับหลวงปู่แจ้ง เช่น เรือพร้อมเก๋งพระที่นั่ง 4 แจว พระแท่นบรรทม ตาลปัตรพัดรองนามาภิไธยย่อ “จ.ป.ร.” และตาลปัตรพัดรองนารายณ์ทรงครุฑพร้อมปลอกหนังสำหรับคลุม ตู้เล็กและตู้ทึบ ปิ่นโต สลกบาตรพร้อมฝาบาตร ไม้ฝังมุกอักษรย่อ “ส.พ.ป.ม.จ.” ซึ่งย่อมาจากคำว่า สมเด็จพระปรมินทร์รมหาจุฬาลงกรณ์ กาน้ำทองแดงมีตราสัญลักษณ์ กี่ใส่ยาฉุน ถาดใส่ของ ตะเกียงแสงฟ้าแลบ นาฬิกาปารีส

สถานที่และสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดประดู่

1. อุโบสถหลวงพ่อใหญ่
2. พิพิธภัณเครื่องราชศรัทธารัชกาลที่ 5
3. พระตำหนักสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
4. ภาพจิตรกรรมเพดานเขียนด้วยสีฝุ่นสมัยรัชกาลที่ 2
5. เก๋งเรือพระราชทานรัชกาลที่ 5
6. ศูนย์สาธิตศิลปะการทำหัวโขนและเศียรครู
7. ต้นสะเดาประวัติศาสตร์
8. บ่อน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์
9. หุ่นปั้นรูปเหมือนด้วยดินสอพอง

เลขที่ 54 หมู่ 2 ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
โทร. 0-3473-5237

« of 2 »