เป็นตลาดน้ำยามเย็น ตลาดจะมีทุกวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์
ในช่วงเวลาตั้งแต่ 12.00-20.30 น. อยู่ติดกับอุทยาน ร.2
มีอาหารขายหลายชนิด เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย กุ้งเผา ขนมไทยโบราณ
กาแฟโบราณ และสินค้าที่ระลึก จากอัมพวา ช่วงหัวค่ำสามารถเช่าเรือเพื่อ
ชมหิ่งห้อย ค่าเรือชมหิ่งห้อยคนละ 60 บาท เหมาลำ 600 บาท
Monthly Archives: November 2008
วัดบางกุ้ง-วัดจุฬามณี
วัดบางกุ้ง
วัดบางกุ้งตั้งอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับค่ายบางกุ้ง
แต่อยู่คนละฝั่งกัน มีถนนตัดผ่านกลาง วัดบางกุ้งนี้มีความมหัศจรรย์อยู่ที่โบสถ์ของ
วัดจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ โดยภายในวัดมีโบสถ์เก่าประดิษฐาน
หลวงพ่อพุทธมณีนิลพระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นขนาดใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า
หลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ สมัยอยุธยา
วัดจุฬามณี
เป็นวัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวาต่อเนื่องกับคลองผีหลอก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า
ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินิกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น
บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1)
และคุณบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)
วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี
วัดมหาธาตุราชวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรีนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่า
แรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี
จึงได้มีการก่อสร้างและดัดแปลงศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีขึ้นเป็นพระปรางค์และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมืองตามคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลของเขมร
ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้งซ้อนทับและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก 3 องค์บนฐานเดียวกัน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก
ประชาชนก็ย้ายตามความเจริญไปด้วย วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2338
พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนช่วยกันปัดกวาดซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ
ในที่สุดวัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาเช่นเดิม และยังคงเป็นมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญในวัด ได้แก่
พระปรางค์ประธาน ,พระวิหารหลวง ,กำแพงแก้ว ,ราวบันไดรูปครุฑยุคนาค ,พระอุโบสถ ,พระมณฑป ,พระเจดีย์
วัดมหาธาตุได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในราชกิจจาเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้รับการระวางแนวเขตโบราณในราชการกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอนที่ 88 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตั้งขึ้นด้วยความริเริ่มขององค์กร อาทิ วัดโขลงสุวรรณคีรี มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดแคทราย ศูนย์สืบทอดศิลปะผ้าจกราชบุรี ชมรมชาวไท-ยวน ราชบุรี โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี สมาคมต่างๆได้ร่วมกันก่อสร้าง ตัวอาคารแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2546 จากนั้นจึงมอบหมายให้ ดร.อุดม สมพร มูลนิธิพัฒนาประชากรตำบลคูบัว เป็นประธานกรรมการจัดตกแต่งและจัดแสดงภายในรวมทั้งเป็นวิทยากรกิตติมศักดิ์ด้วย ภายในอาคาจิปาถะภัณฑ์ แบ่งห้องแสดงไว้หลายห้อง เช่น ห้องแสดงศิลปวัตถุโบราณสมัยทวราวดี ห้องแสดงวิถีชีวิต ของชุมชนไท-ยวน เป็นต้น นอกจากนี้ภายนอกอาคารด้านขวามือยังเป็นอาคารเอนกประสงค์ที่ใช้เป็นที่รวมกลุ่มของชาวบ้านในพื้นที่ ใช้เป็นศูนย์ฝึกและศูนย์สาธิตการทอผ้าจก และทางด้านหน้าของอาคารมีเรือนไท-ยวนโบราณให้ศึกษาอีกด้วย
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว ตั้งอยู่ 101 หมู่ 6 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000
สหกรณ์การเกษตรไท-ยวน จำกัด โทร. 0-3271-1765
Web Site : www.jipathaphan.com
เมืองโบราณคูบัว
เมืองโบราณคูบัว เป็นอาคารพุทธศาสนาเนื่องในลัทธิมหายานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง จากร่องรอยหลักฐานที่ปรากฎให้เห็น สันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นฐานของวิหาร เนื่องจากมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดขึ้นไปสู่ลานประทักษิณชั้นบนทางด้านทิศตะวันออก ฐานประดับด้วยซุ้ม และเสาอิงที่แต่เดิมเคยมีรูปพระโพธิสัตว์ทำด้วยปูนปั้นประดับตกแต่ง เพราะว่าปัจจุบันยังมีรูปพระโพธิสัตว์ทำด้วยปูนปั้นประดับตกแต่งที่มีลักษณะ และสัดส่วนที่เข้ากันได้กับซุ้ม และเสาอิงที่เก็บรักษาไว้ที่วัดโขลงสุวรรณคีรีบางส่วน
ลักษณะฐานเช่นนี้คล้ายคลึงกับฐานของโบราณสถานคลังใน กลางเมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ที่สร้างขึ้นเนื่องในวัฒนธรรมทวารวดีเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ยังได้พบพระโพธิสัตว์สำริดขนาดเล็กที่มีลักษณะ และรูปแบบคล้ายคลึงกันกับประติมากรรมที่พบที่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศิลปะที่สร้างขึ้นเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกายวัชรที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในอินเดีย และชวาภาคกลางในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 15
เมืองโบราณคูบัว ปัจจุบันตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คูบัว เขต อ.เมืองราชบุรี โดยอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดราชบุรีไปทางด้านทิศใต้ ประมาณ 8 กม. มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน ขนาดกว้างประมาณ 800 เมตร ยาว ประมาณ 2,000 เมตร .
วัสดุที่มีการนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารศาสนาสถานของเมืองโบราณคูบัวนั้น ส่วนใหญ่นิยมก่อด้วยแผ่นอิฐขนาดใหญ่ซึ่งทั่วไปมีขนาดโดยประมาณ กว้าง 17 ซม. ยาว 35 ซม. และหนา 10 ซม. เนื้ออิฐผสมด้วยแกลบข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ ใช้ดินเนียวเนื้อละเอียดผสมยางไม้หรือน้ำอ้อยเป็นดินสอ หรือตัวประสาน การเรียงอิฐใช้วิธีการเรียงตามแนวยาววางสลับกับแนวกว้างในชั้นเดียวกัน สำหรับส่วนฐานล่างสุดของอาคารศาสนสถานเท่าที่มีการพบ ส่วนใหญ่มักใช้อิฐก่อเช่นเดียวกันกับส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไป
วัดโขลงสุวรรณคีรี
วัดเก่าแก่ที่เป็นที่ค้นพบเมืองโบราณ ปัจจุบันยังได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของโบราณของตำบลด้วย หลวงพ่อสิทธิ วราทร เป็นเจ้าอาวาส